การตั้งชื่อแบรนด์ ที่ดีจะต้อง “โดนใจ” หรือรู้สึก “สะดุด” ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ฟัง แต่การจะตั้งชื่อแบรนด์แบบนี้นั้น แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่าย อีกทั้งยังต้องคำนึงถึง ชนิดของสินค้าหรือบริการของแบรนด์ กลุ่มเป้าหมายที่ต้องสื่อสารด้วย ฯลฯ อย่าเพิ่งกังวลไปค่ะ เรามีไอเดียการตั้งชื่อแบรนด์มาฝาก เทคนิคนี้จะช่วยให้คุณได้ชื่อแบรนด์ที่ใช่ และโดนใจลูกค้าอย่างแน่นอน
ชื่อที่อธิบายตัวเอง
การตั้งชื่อประเภทนี้จะคำนึงถึงสินค้าเป็นหลัก เน้นเป็นชื่อที่สื่อสารง่าย คนทั่วไปเห็นก็จะเดาออกว่าบริษัทน่าจะทำเกี่ยวกับอะไร ข้อดี ไม่ต้องเสียเวลาอธิบายเยอะ เข้าใจง่าย ข้อเสีย ชื่อเหล่านี้ส่วนมากมักจะถูกคนเอาไปใช้แล้ว ทำให้เราต้องพลิกแพลงวิธีสะกดบ้าง หรือ การเรียงลำดับคำร่วมด้วย
ตัวอย่างเช่น
Biopharma (Medical Product)
Skinfood (Beauty)
ตั้งชื่อแบรนด์ให้สะกดง่าย ออกเสียงง่าย
ชื่อแบรนด์ที่สะกดง่าย ไม่ซับซ้อน จะช่วยให้ลูกค้าค้นหาข้อมูลสินค้าหรือบริการของเราจากอินเทอร์เน็ตได้ง่าย ชื่อแบรนด์ที่ดีต้องทำให้คนทั่วไปสามารถเดาได้ว่าชื่อแบรนด์ของคุณจะต้องเขียนหรือสะกดแบบไหนเพียงแค่ได้ยินผ่านหู และไม่ว่าจะเป็นชื่อแบรนด์ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่นๆ ควรเป็นคำที่ใครๆ ก็สามารถอ่านออกเสียงได้เหมือนกันหมด หากชื่อแบรนด์ของคุณอ่านยากเกินไป จะทำลูกค้าไม่กล้าออกเสียง หรือกลัวออกเสียงผิด เมื่อเป็นเช่นนี้ อาจทำให้คุณเสียโอกาสที่ลูกค้าจะแนะนำแบรนด์ต่อนั่นเองค่ะ
ตัวอย่างเช่น
KA (เคเอ)
benice (บีไนซ์)
ชื่อเปรียบเปรย
“Picture is worth a thousand words” การเปรียบเปรยก็เช่นกัน การนำสิ่งที่เป็นที่รู้จักในระดับสากลมาตั้งเป็นชื่อแบรนด์จะทำให้คนทั่วไปสามารถเชื่อมโยง แบรนด์กับความหมายที่แฝงอยู่ได้ชัดเจนขึ้นตามคุณลักษณะของสิ่งนั้นๆ โดยประเภทของสิ่งรอบตัวที่คนนิยมนำมาตั้งชื่อสามารถมีหลากหลายรูปแบบ อาทิ
History
เปรียบเปรยจากลักษณะของชื่อเมืองเก่า, ถนนที่เป็นจุดเริ่มต้น, ท่าเรือที่เจิรญรุ่งเรืองตั้งแต่ในอดีต
Goddess
เปรียบเปรยจากความหมายของเทพ หรือ ตัวละครในนวนิยายชื่อดัง *การใช้ชื่อเทพกรีกในประเทศไทยกลายเป็นชื่อที่นิยมของอาบอบนวด)
Landscape / Geography
เปรียบเปรยด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์, ลักษณะของป่า, ความสงบของพื้นที่, ภูมิอากาศที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่เราจะมอบให้กับลูกค้า
Animals
เปรียบเปรยด้านพฤติกรรม, ลักษณะเด่นของสัตว์ชนิดนั้นๆ, ความหมายที่เป็นสากล
Activity
เปรียบเปรยจาก Action การกระทำ, เสียงที่ได้จากการทำกิจกรรมนั้นๆ
Objects
เปรียบเปรยจากคุณสมบัติของสิ่งของนั้นๆ, การนำสิ่งนั้นๆไปใช้
ตัวอย่างเช่น
Amazon (แพลตฟอร์มขายของออนไลน์ที่กว้างใหญ่ มีสินค้าหลากหลายมากมายให้เลือก)
Greyhound (รถบัสเดินทางไกลที่ถึงเร็ว)
Kayak (แพลตฟอร์มเกี่ยวกับการท่องเที่ยวสำหรับคนที่ชอบกิจกรรม)
Jaguar (รถยนต์ที่มีความคล่องแคล่ว)
ชื่อที่ให้ความหมายและความรู้สึก
เป็นอีกแนวทางในการตั้งชื่อที่ใช้บางส่วนของ Core Business/Service มาเป็นแก่นในการเล่าเรื่องของแบรนด์เพื่อให้ถูกจดจำในประเภทธุรกิจที่ถูกต้องและเป็นที่ชื่อที่ยังสามารถบอกคุณลักษณะหรือบุคลิกภาพได้ (Sense of Personality) ซึ่งชื่อแนวนี้จะไม่ได้เน้นความโดดเด่นเป็นหลักแต่จะทำให้ลูกค้ารับรู้ถึงรูปแบบธุรกิจ/บริการในขณะที่ได้ทำความรู้จักตัวตนและนิสัยใจคอของแบรนด์ด้วย
ตัวอย่างเช่น
PayPal
JetBlue
FoodPanda
Traveloka
ชื่อที่สร้างความเชื่อ
การสร้างแบรนด์ให้เป็นมากกว่าแบรนด์ แต่เป็นการวาดภาพของแบรนด์ให้ยิ่งใหญ่กว่าแค่การขายสินค้า หรือ บริการ ด้วยการกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกร่วม อาจใช้ Insight ของกลุ่มเป้าหมายมาเป็นวิธีในการตั้งชื่อได้ เพื่อที่จะทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกว่าเรากำลังคุยภาษาเดียวกันอยู่ หรือ แบรนด์เข้าใจปัญหาของลูกค้าเป็นอย่างดีและพร้อมที่จะช่วยแก้ วิธีการนี้หากแบรนด์สามารถเข้าไปนั่งอยู่ในใจกลุ่มเป้าหมายได้ จะทำให้เกิดการบอกต่อคนใกล้ตัวได้ง่ายขึ้น เนื่องจากลูกค้ามีทัศนคติและประสบการณ์ที่ดีกับแบรนด์
องค์ประกอบต่างๆ ที่สามารถเชื่อมต่อกับ Insight บางอย่างของกลุ่มเป้าหมาย เช่น
- Feeling : ความรู้สึกที่มีต่อปัญหาหาที่แบรนด์สามารถช่วยแก้ให้ได้
- Characteristics : ลักษณะนิสัยของคนแบบเดียวกับกลุ่มเป้าหมาย (ให้ความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน)
- Moment : ช่วงเวลาที่กลุ่มเป้าหมายมองหาสินค้า/บริการของแบรนด์
- Gender : บ่งบอกถึงเพศสภาพหรือกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์
ตัวอย่างเช่น
Pampers (ผ้าอ้อมเด็ก)
Victoria’s Secret (ชุดชั้นในผู้หญิง)
ZARA (เสื้อผ้าผู้หญิง)
ชื่อที่ใช้จุดเด่นนำ
การนำจุดขายของแบรนด์มาตั้งเป็นชื่อ เพื่อให้สินค้าเป็นที่รู้จักและชัดเจนตั้งแต่แรกในการชื่อสาร ไม่ว่าจะเป็น จุดที่ทำให้เราแตกต่างจากตลาดทั้ง Competitive Point และ Unique Selling Point มาผสมกับ Adjective/Verb เพื่อสร้างคำใหม่ที่บอกเล่าเรื่องราวของแบรนด์ได้เป็นอย่างดี
ตัวอย่างเช่น
SnapChat
Grab
WeChat
FlowAccount
ชื่อแบรนด์ที่ดีต้อง “แตกต่าง” จากชื่อแบรนด์ของ “คู่แข่ง”
ชื่อที่แตกต่างจะทำให้แบรนด์ของคุณโดดเด่น หากคุณตั้งชื่อแบรนด์คล้ายกับชื่อของคู่แข่งมากเกินไป อาจทำให้ลูกค้าสับสน ไม่สะดุดตา และยังอาจส่งผลถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์ว่าเป็นแบรนด์เลียนแบบ การตั้งชื่อแบรนด์ให้แตกต่างจากคู่แข่ง สิ่งแรกที่ต้องทำคือศึกษาข้อมูลของคู่แข่งและรวบรวมลิสต์รายชื่อของแบรนด์ที่ขายสินค้าใกล้เคียงกัน นอกจากจะนำมาเป็นตัวอย่างแล้ว ยังทำให้คุณมองเห็นภาพรวมของธุรกิจที่คุณกำลังจะลงแข่งขันได้อีกด้วย
ข้อควรระวังในการตั้งชื่อแบรนด์
การตั้งชื่อให้โดดเด่นและแตกต่างเป็นเรื่องที่ดี แต่อย่างไรก็ตาม ประเภทของธุรกิจแต่ละแบบก็มีวิธีคิดที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น แบรนด์ที่เกี่ยวกับการเงิน จะต้องดูมีความน่าเชื่อถือ ดังนั้น จึงต้องพิจารณาให้ดีว่าวิธีตั้งชื่อแบบไหนเหมาะสมบ้าง ในขณะที่ธุรกิจด้านเทคโนโลยี และ ออนไลน์ สามารถพิจารณาชื่อที่โลดโผนกว่า แต่สิ่งสำคัญไม่แต่กันคือ การเลือกชื่อที่สามารถจดโดเมน .com ได้ และ จดจำได้ง่าย เป็นต้น
สรุป
ชื่อแบรนด์ที่ได้มานั้น จะเป็นชื่อที่เหมาะสม หรือ ตรงกับเป้าหมายของแบรนด์มากน้อยแค่ไหน ต้องอาศัยเวลาและความเข้าใจอย่างแท้จริง ทั้งในรูปแบบของธุรกิจที่จะลงสนาม (Market Analysis) การวิเคราะห์ผู้เล่นในตลาด (Competitor) และการหาจุดยืนของแบรนด์ตัวเองให้ชัดเจนและแตกต่าง (Brand USP) เพื่อที่จะมองหาโอกาสทางธุรกิจ และ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคอย่างตรงจุด จึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญร่วมด้วยเพื่อสร้างรากฐานของแบรนด์ให้แข็งแรงตั้งแต่แรกเริ่ม
ขอบคุณข้อมูลจาก >> http://arktic.co/